วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

กราฟฟิกกับการออกแบบ

11.jpg

                   งานออกแบบกราฟิกหรือเรขนิเทศศิลป์ (Graphic Design) คือ กระบวนการออกแบบเพื่อการสื่อสาร ที่ผสานศิลปะเข้ากับเทคโนโลยี ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้การส่งสารดังกล่าวไปถึงผู้รับสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด องค์ประกอบที่ใช้ในการทำงานกราฟิกจะประกอบไปด้วยภาพและ/หรือตัวอักษรเป็นสำคัญ
ปัจจุบันงานออกแบบกราฟิกจัดเป็นงานบริการประเภทหนึ่งที่นักออกแบบให้บริการผ่านการให้คำแนะนำ หรือการรับจ้างผลิตงานออกแบบ โดยอาศัยทักษะ ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการคิดในการออกแบบ มาช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารและการรับรู้ เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ รายงานประจำปี ตราสัญลักษณ์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงวีดิทัศน์ เว็ปไซต์ บรรจุภัณฑ์ และสื่อผสมทางอิเล็คโทรนิกส์อื่นๆ
ในภาวะที่ธุรกิจแข่งขันกันรุนแรงดังเช่นทุกวันนี้ การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ หนึ่งในผู้ที่สามารถแสดงบทบาทช่วยให้องค์กรและตราสินค้าทำการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ "นักออกแบบกราฟิก" นั่นเอง


21.jpg

ประโยชน์ของการใช้งานนักออกแบบกราฟิก สามารถสรุปได้โดยสังเขปดังนี้       
1. ช่วยวางกรอบและเงื่อนไขของการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร นักออกแบบกราฟิกจะพิจารณาเลือกวิธีการสื่อสารและเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม เพื่อให้การสื่อสารทั้งหมดดำเนินไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ช่วยส่งเสริมการขายและการตลาด งานออกแบบกราฟิกที่ดีช่วยสร้าง/ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้กับองค์กร สร้างความเชื่อมั่น และกระตุ้นพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคได้ โดยผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ กัน อาทิ การออกแบบเว็บไซต์ บรรจุภัณฑ์ สั่งพิมพ์โฆษณา ฯลฯ
3. มีส่วนช่วยในการตัดสินใจหรือให้ความคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการ ในกรณีที่โครงงานมีทิศทางหรือแนวปฏิบัติที่หลากหลายและไม่สามารถหาข้อสรุปได้โดยง่าย
 

ขั้นตอนในการคัดเลือกและว่าจ้างนักออกแบบกราฟิก
    
1. ค้นหารายชื่อนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบ พร้อมทั้งศึกษาลักษณะการให้บริการเบื้องต้น อาจเริ่มต้นจากที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรมส่งเสริมการส่งออก สมาคมนักออกแบบ หรือถามจากผู้ประกอบการที่เคยใช้บริการประเภทดังกล่าวมาก่อน
2. เตรียมข้อมูลความต้องการ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงงานให้พร้อม เพื่อเป็นโจทย์ตั้งต้นให้กับนักออกแบบ
3. เชิญนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบที่สนใจเข้ามาแนะนำตัว โดยให้คำนึงถึงผลงานและประสบการณ์เป็นสำคัญ (อาจรวมถึงขนาด ศักยภาพ และความพร้อมในการทำงานด้วย)
4. นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ และให้กรอบการพิจารณาคัดเลือกที่ชัดเจนแก่นักออกแบบ โดยข้อมูลที่ผู้ประกอบการและนักออกแบบควรทำความเข้าใจร่วมกัน ณ จุดนี้คือ
- รายละเอียดของสินค้าหรือบริการ รวมทั้งลักษณะเฉพาะของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- วิสัยทัศน์และขนาดของธุรกิจ
- คู่แข่งที่ชัดเจนทั้งทางตรงและทางอ้อม
- สาเหตุที่ธุรกิจต้องการความช่วยเหลือจากงานออกแบบ
- สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการใช้นักออกแบบ
- แรงบันดาลใจอื่นๆ5. จากนั้นจึงแจกแจงรายละเอียดโครงงานให้กับนักออกแบบ (ฺหรือที่เรียกว่า Brief)

การให้ Brief เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะนักออกแบบจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ ใน Brief นี้เพื่อวางแผนและกลยุทธ์ในการทำงาน หาก Brief มีข้อผิดพลาดหรือขาดความชัดเจนแล้ว โอกาสที่ผลงานออกแบบจะออกมาดีตามคาดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
Brief ที่ดีควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้ - ประวัติ ที่มา และลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการโดยคร่าว
- ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
- เงื่อนไข ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ
- แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ
- เงื่อนไขหรือขอบเขตในลิขสิทธิ์ของงานออกแบบ
- รายละเอียดในการส่งมอบงาน
- งบประมาณ
6. เชิญนักออกแบบเข้ามานำเสนอโครงงานออกแบบ (ที่เรียกว่า Design Proposal) 7. พิจารณาเอกสารการนำเสนอโครงงานอย่างเป็นธรรม และคัดเลือกนักออกแบบโดยยึดกรอบการพิจารณาที่เคยให้ไว้ 8. ทำความเข้าใจเป็นลายลักษณ์อักษรถึงข้อตกลง เงื่อนไขการทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ กับนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบที่เลือกใช้ 9. ทำสัญญาจ้างงาน

การคิดค่าบริการในงานออกแบบกราฟิก
     อัตราค่าบริการสำหรับงานออกแบบกราฟิกนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ความสามารถ ชื่อเสียง ประสบการณ์ของนักออกแบบ ความยากง่าย และคุณค่าของงาน ฯลฯ โดยการประเมินราคาส่วนมากจะคำนวณจากองค์ประกอบหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่
1. ค่าออกแบบ ซึ่งประเมินจากขั้นตอนการทำงาน รายละเอียด และความยากง่ายของตัวงานเป็นหลัก การประเมินราคาในส่วนนี้ทางนักออกแบบอาจนำเสนอเป็นราคาเดียวเพื่อความสะดวก หรือบางแห่งอาจทำราคาแยกให้เห็นเป็นขั้นๆ ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ระบบการจัดการของฝ่ายผู้ว่าจ้างและนักออกแบบด้วย
2. ค่าดูแลการผลิต ในบางกรณีนักออกแบบสามารถคิดค่าดูแลการผลิตเพิ่มเติมจากค่าออกแบบได้ ทั้งนี้เพราะมาตรฐานการผลิตระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบงานพิมพ์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องการความเชี่ยวชาญและมีรายเอียดที่ซับซ้อน นักออกแบบกราฟิกส่วนมากจำเป็นต้องให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้ผลิตหรือโรงพิมพ์ เพื่อให้ทำการผลิตได้ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งต้องเข้าไปดูแลงานผลิตที่บางครั้งอาจใช้เวลาเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ และอาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นด้วย
3.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเดินทาง ค่าส่งเอกสาร ค่าที่พัก ค่าตรวจพิสูจน์อักษร (ถ้ามี)
4.ค่าลิขสิทธิ์ในงานออกแบบ (Loyalty Fee) นักออกแบบหรือบริษัทออกแบบบางแห่ง อาจคิดค่าบริการเพิ่มเติมเป็นเปอร์เซนต์จากสิทธิหรือปริมาณการใช้งานออกแบบนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการผลิต เงื่อนไข ประเภท และข้อตกลงอันเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย

stationary.jpg

4 ขั้นตอนการทำงานของนักออกแบบกราฟิกที่ดี 1. Discover : ค้นและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้มความเป็นไปได้ นักออกแบบจะเริ่มต้นหาแรงบันดาลใจจากข้อมูลเบื้องต้นใน brief รวมทั้งศึกษาตลาดการแข่งขัน สังเกตแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ศึกษากรณีอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงการตลาด สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการออกแบบ เพื่อพัฒนาแนวคิดในขั้นต่อไป
2. Define : ประมวลผลและพัฒนาแผนการทำงาน ขั้นตอนนี้นักออกแบบจะเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองความคิด หาคำตอบในวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของลูกค้า รวมถึงวางแผนการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งทำความเข้าใจในแผนงานกับลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับตรงกัน เช่น แนวคิดและแนวทางการออกแบบ (Mood & Tone) การบริหารจัดการเรื่องเวลา ทรัพยากรและการดำเนินงาน
3. Develop : พัฒนางานออกแบบ นักออกแบบกราฟิกเริ่มลงมือทำงานเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดให้กับโจทย์ของลูกค้า โดยผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้
- เสนอแนวคิดต่างๆ ในการออกแบบ เช่น Mood, Tone, Format, Techniques
- เริ่มต้นออกแบบ เช่น การจัดหน้า Layout, การเลือกภาพ ตกแต่งภาพ จัดวางภาพ การเลือกและจัดวางตัวอักษร
- นำเสนอตัวอย่างเสมือนจริง (หรือ Mock-up) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน
- เตรียมทำอาร์ตเวิร์ค (Artwork) สำหรับใช้ในกระบวนการพิมพ์
- ตรวจแบบและส่งมอบอาร์ตเวิร์ค เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการพิมพ์และผลิตต่อไป
4. Deliver : ผลิตงานออกแบบ นำงานออกแบบที่พัฒนาขึ้นแล้วเข้าสู่กระบวนการพิมพ์และผลิตจริง นักออกแบบต้องช่วยตรวจสอบคุณภาพความถูกต้อง ประสานงานให้กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น และส่งมอบงานให้กับลูกค้า เช่น ช่วยดูแลการเลือกกระดาษพิมพ์ ดูความถูกต้องของสีหมึกพิมพ์ รวมไปถึงดูแลเรื่องสถานที่ส่งของด้วย
เครดิตข้อมูล : กรมส่งเสริมการส่งออก
เครดิตภาพ :
www.jeerapit.blogspot.com/ www.mitshit.com/tag/design/page/2/ http://www.tocommunication.be/images/work/stationary.jpg

 

การเลือกใช้สีในการออกแบบ

การเลือกสีสำหรับใช้เป็น theme ของงานแต่งงาน ขอแนะนำว่าเบื้องต้นควรเลือกจากสีที่คู่บ่าวสาวชอบเป็นหลัก จากนั้นจะเลือกสีอื่นๆเข้าไปประกอบด้วยหรือไม่ก็ขึ้นกับความพอใจของทั้งคู่ ซึ่งเทรนด์ในปัจจุบันนิยมใช้สีหลัก 2-3 สี ช่วยสร้างมิติและความแตกต่างให้กับงานได้ ที่แน่ๆคือ การคุมให้งานมีเพียงสีหลัก จะช่วยสร้างความเป็นเอกภาพของงาน สร้างการรับรู้และจดจำ นอกจากนี้ในช่วงการเตรียมงานยังช่วยให้คู่บ่าวสาวสามารถตัดสินใจเลือกองค์ประกอบต่างๆได้ง่ายขึ้น เพราะทุกอย่างจะถูกกำหนดไว้ด้วยสีที่เลือกนั่นเองค่ะ
การเลือกใช้สีไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายเสมอไป เพราะสีที่เลือกใช้จะบ่งบอกได้ถึงรสนิยมของผู้เลือก หลักการพื้นฐานในการเลือกใช้สีนั้นมาจากทฤษฎีของสีนั่นเองค่ะ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากภาพนี้
สีเหลือง-น้ำเงิน-แดง คือ สีขั้นปฐมภูมิ (Primary) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ “แม่สี”

เมื่อนำแม่สี 2 สีมาผสมกัน จะได้เป็นสีขั้นทุติยภูมิ (Secondary)
แดง+เหลือง = ส้ม
น้ำเงิน + เหลือง = เขียว
แดง + น้ำเงิน = ม่วง

ส่วนสีขั้นตติยภูมิ (Tertiary) ได้จากการนำแม่สีผสมกับสีทุติยภูมิ เช่น น้ำเงิน + ม่วง = น้ำเงิน-ม่วง เป็นต้น
จากวงจรสีข้างบน จะแบ่งสีได้เป็น 2 โทน (Tone) คือ โทนร้อน (Warm tone) และโทนเย็น (Clod tone) โดยโทนเย็นจะให้ความรู้สึกสบายและสดชื่น ได้แก่ เหลือง เขียว น้ำเงิน ม่วง ส่วนโทนร้อนจะให้ความรู้สึกอบอุ่น ร้อนแรง และสนุกสนาน ได้แก่ แดง ส้ม เหลือง ม่วง
และถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า สีเหลืองและสีม่วงอยู่ตรงกลางระหว่างโทนสีร้อนและเย็นพอดี ทั้ง 2 สีนี้จึงมีความพิเศษตรงที่ สามารถเป็นได้ทั้งสีร้อนและเย็นค่ะ
เมื่อทราบทฤษฎีของสีกันแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเลือกใช้สี โดยเราสามารถเลือกใช้เทคนิคได้หลากหลาย เช่น
1) เลือกใช้สีเดียว
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และเพื่อให้งานดูมีมิติมากขึ้น จะใช้เทคนิคนำสีหลักผสมกับสีกลาง (ขาว-เทา-น้ำตาล-ดำ) เพื่อให้เกิดความอ่อน-แก่ของสี
 
ภาพประกอบ (จากบนตามเข็มนาฬิกา) Macaron ขนมเนื้อนุ่มสีหวานที่กำลังเป็นที่นิยม : The Wish List / คุกกี้ชุดแต่งงานสำหรับเป็นของชำร่วย : Kiwi Cakes / ตกแต่งโต๊ะอาหารแบบ minimal ด้วยภาชนะกระเบื้องสีขาวขอบดำ : Martha Stewart Weddings / ช่อดอกไม้สำหรับตั้งโต๊ะ : SD Wedding Insider / จัดโต๊ะเขียนคำอวยพร โดยตั้งแจกันขนาดใหญ่ที่มีกิ่งไม้สำหรับผูก blessing card : Wedding Windows / ชุดเพื่อนเจ้าสาวสีชมพูโอโรส : Weddings on the French Riviera / เครื่องดื่มสีชมพู ประดับปากแก้วด้วยดอกไม้ : Exquisite Event Planning Blog / เสิร์ฟเค้กและไอศครีมบนจานกระเบื้องสีหวาน : Wedding Paper Divas / กล่องของชำร่วย : Wedding Color / ดอกไม้สำหรับแขวนบานประตูโบสถ์ : Brides / เค้กแต่งงานเขียนลายดอกซากุระแสนหวาน : The Wish List

2) เลือกคู่สีที่ใกล้เคียงกันเป็นสีที่อยู่ในวงจรสี 3 สีติดกัน หรืออาจจะเลยไปถึง 5 สี แต่ก็ควรมีสีหลักๆไว้ และใช้สีที่เหลือเพียงเล็กน้อย เช่น เหลือง-ส้ม-ส้มเหลือง , แดง-ม่วง-ชมพู
ภาพประกอบ (จากบนตามเข็มนาฬิกา) โรยทางเดินเข้าสู่ส่วนพิธีการด้วยกลีบกุหลาบสีเหลืองและส้ม ประดับด้วยลูกบอลกุหลาบสีส้มสดใสตามแนวทางเดิน : lavishweddingdesign / เพิ่มสีสันให้โต๊ะอาหารด้วยแจกันและดอกไม้สีเหลือง-ส้ม : hwtm daily blog / ตกแต่งสถานที่ให้ดูสดใสด้วยดอกไม้และโคมไฟกระดาษ : bayareaweddingsoup
3) เลือกคู่สีตรงข้าม
แม้ว่าหลายๆทฤษฎีจะบอกว่าการเลือกคู่สีตรงข้ามนั้นเป็นกฎต้องห้าม แต่หากเลือกใช้ให้ถูกวิธี จะทำให้ดูโดดเด่นได้มาก เทคนิคง่ายๆก็คือ ให้สีหลักมีปริมาณ 80% และสีรองมีปริมาณไม่เกิน 20% และอาจลดทอนความรุนแรงของสีด้วยการเพิ่มสีกลาง อย่างเช่น สีขาว เทา น้ำตาล ลงไป
ตัวอย่างเช่น การใช้สีแดงและเขียว ที่มีการเบรคด้วยสีขาวในปริมาณมาก และใช้สีแดงและเขียวอย่างละนิดหน่อย หรือจะผสมสีขาวลงไปในสีหลัก เพื่อให้ดูสบายตาขึ้น
 
ภาพประกอบ (จากบนตามเข็มนาฬิกา) เพิ่มสีสันให้งานเลี้ยงที่ใช้สีขาวและครีมเป็นหลักด้วยภาชนะและของตกแต่งสีแดงและเขียว : Glamourthis / ช่อดอกกุหลาบสีแดงเข้มตัดกับใบไม้ประดับสีเขียวสด เสริมลูกเล่นที่ก้านสำหรับถือด้วยริบบิ้นสีน้ำตาลปักหมุดลูกปัดสีขาวมุก : Arena Flowers/ ใช้ถังพลาสติกสานสีขาวขอบแดงใส่แอปเปิ้ลเขียววางบนโต๊ะแทนการประดับด้วยดอกไม้ ได้ความเก๋และยังทานเล่นได้ด้วย, เค้กแต่งงานสีขาวประดับเพียงเล็กน้อยด้วยดอกกุหลาบสีแดงดอกใหญ่ และคาร์เนชั่นสีเขียว :  The Knot / เลือกดอกไม้ที่มีสีตรงกันข้ามมาใช้สำหรับตกแต่งงานและโต๊ะอาหาร : Schreursfavorideas / เติมสีน้ำตาลลงไป ทำให้ได้ความรู้สึกที่อบอุ่น : designsbyhemingway / ใช้เก้าอี้สีขาวเพื่อให้โต๊ะอาหารสีแดงเข้มดูสว่างขึ้น : Weddings on the French Riviera / ลูกเล่นเล็กๆน้อยๆสำหรับเจ้าบ่าวที่สวมสูทสีเทา เนคไทนสีเขียวและดอกไม้ติดหน้าอกสีแดง : The Knot
4) เลือกสีที่ใกล้เคียงกับสีคู่ตรงข้ามวิธีนี้เป็นเทคนิคการลดทอนความรุนแรงของสีคู่ตรงข้ามวิธีหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความนุ่มนวล สบายตา และทำให้สีหลักมีความโดดเด่นมาก แม้จะใช้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
ภาพประกอบ (จากบนตามเข็มนาฬิกา) ใช้ผ้าปูโต๊ะและดอกไม้สีม่วงหลากหลายเฉด เพิ่มความสนใจด้วยดอกไม่สีเขียวในบางจุด : Soompi Forum / เค้กแต่งงานตกแต่งด้านบนด้วยชื่อย่อของคู่บ่าวสาว : Wedding Obseesion / แค่สีสดๆของดอกไม้ก็สวยพอแล้ว แค่หาแจกันเซรามิคสีขาวหรือเทามาใช้ก็พอ หรือจะเพิ่มความหรูหราด้วยแจกันโลหะก็เข้าท่า : Central Square Florist  / ชุดเพื่อนเจ้าสาวสีม่วงตัดกับช่อดอกไม้สีเขียว : The Knot / คัพเค้กส้มตกแต่งด้วยลายพวงองุ่นสุดน่ารัก : Wedding Ideas / กังหันลมกระดาษสีสดใสสำหรับตกแต่งหรือใช้แทน placecard บนโต๊ะอาหาร : The Knot / สร้างสรรค์โต๊ะอาหารสุดหรูด้วยจานกระเบื้องเนื้อดี ผ้าเช็ดปากสีเหลืองส้มรัดด้วยสายคริสตัล และเพิ่มสีสันให้งดงามด้วยกล้วยไม้สีม่วง : The Classic Invitation / จัดดอกไม้แบบง่ายๆในถ้วยกาแฟ หรือใส่ดอกเยอบีร่าลงในแก้วช็อต วางบนโต๊ะอาหารปูผ้าสีสด : Weddingwire / ภาชนะสีเขียวตองอ่อนและผ้าเช็ดปากสีม่วง ประดับด้วยกล้วยไม้สีเขียวอ่อน : Omnibride / เค้กดอกไม้สดสีม่วงและเหลืองส้ม เขียนตัวอักษรย่อชื่อคู่บ่าวสาวไว้คนละด้าน : Weddingwire
หลักการพื้นฐานในการเลือกใช้สีสำหรับงานแต่งก็ขอแนะนำไว้เท่านี้ค่ะ จริงๆแล้วยังสามารถใช้เทคนิคอื่นๆจากวงจรสีที่เห็นในรูปแรกได้อีกมาก แต่ก็ยังมีวิธีที่ไม่ต้องอาศัยวงจรสีค่ะ ซึ่งเป็นเทคนิคที่สะดวกมากๆและได้สีที่สวยโดยไม่พลาดอย่างแน่นอน จะขอแนะนำในครั้งต่อไปนะคะ ^^

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

เรียนต่อสายคอมพิวเตอร์ที่ไหนดี

   ลายๆ คนคงคุ้นหูกันอยู่แล้วสำหรับ คณะวิทยาศาสตร์ แต่พี่แป้งเชื่อว่ามีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็น 1 ในสาขาของคณะวิทยาศาสตร์ด้วย จะมีบางมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่จะไปอยู่คณะอื่น เช่น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะฉะนั้นพี่แป้งจะมาแยกให้ดูค่ะว่า มีสถาบันใดบ้างที่เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และแต่ละสถาบันบรรจุสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์อยู่ในคณะใดค่ะ

- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
  เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (ในพระบรมราชูปถัมภ์)
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
   มหาวิทยาลัยพะเยา
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
   มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
- และมหาวิทยาลัยเอกชน